กราด ๖ หมายถึง [กฺราด] (ถิ่น-ปักษ์ใต้) ว. เล็ก, แคระ, แกร็น.
ใช้เข้าคู่กับคํา กรีด เป็น กรีดกราด.
[กฺรา-] น. ลูกมะพร้าวทุยที่ตัดครึ่งท่อน สําหรับถูพื้นบ้านหรือหวีด้ายทอหูก, เสียงที่พูดกันเป็นกระดวง.
[กฺราน] (โบ) น. ไฟ เช่น เชิงกราน, ธุมาก็ปรากฏแก่กราน. (กฤษณา).
[กฺราน] ใช้เข้าคู่กับคําอื่น หมายความว่า ทอดตัว หรือ ล้มตัวลงราบ เช่น ก้มกราน หมอบกราน, หมายความว่า ค้ำ, ยัน, เช่นยันกราน ยืนกราน, ในบทกลอนใช้โดยลําพังก็มี เช่น ก็กรานในกลางรณภู. (สมุทรโฆษ), พระรามตัดตีนสินมือเสีย กรานคอไปไว้ที่นอกเมือง. (มโนห์รา), โบราณเขียนเป็น กราล ก็มี.
[-กะถิน] ก. ขึงไม้สะดึง คือ เอาผ้าที่จะเย็บเป็นจีวรเข้าขึงที่ไม้สะดึงเย็บเสร็จแล้วบอกแก่ภิกษุทั้งหลายผู้ร่วมใจกันยกผ้าให้ในนามของสงฆ์เพื่ออนุโมทนา, ภิกษุผู้เย็บจีวรเช่นนั้น เรียกว่า ผู้กราน, พิธีทําบัดนี้ คือ สงฆ์ยกผ้าอันไม่พอแจกกันให้ภิกษุรูปหนึ่ง ภิกษุรูปนั้นทําตั้งแต่ซัก กะ ตัด เย็บ ย้อม เสร็จในวันนั้น ทําพินทุกัปปะอธิษฐานเป็นจีวรครอง เป็นจีวรกฐิน เรียกว่ากรานกฐิน. (อุปสมบทวิธี).(ดู กฐิน). (ข. กราล ว่า ปู, ลาด).
[กฺร้าน] ว. มีผิวด้าน, มีผิวไม่สดใส; กระด้าง, แข็ง, หยาบ.
[กฺราบ] น. ไม้เสริมแคมเรือให้สูงขึ้น, ส่วนของเรือตอนที่มีไม้เสริม,ไม้กระดานที่ติดตรงแคมเรือไปตามแนวนอนสําหรับเดิน, เรียกส่วนด้านข้างของเรือรบว่า กราบ.